|
||
![]() |
ประเภทถังดับเพลิงในประเทศไทย
( นิยมบรรจุถังสีแดง ต่างประเทศบรรจุถังสีฟ้า )บรรจุผงเคมี ซึ่ง มีหลายชนิด หลายคุณภาพไว้ในถัง แล้วอัดแรงดันเข้าไป เวลาใช้ ผงเคมีจะถูกดันออกไปคลุมไฟทำให้อับอากาศ ควรใช้ภายนอกอาคาร เพราะผงเคมีเป็นฝุ่นละอองฟุ้งกระจายทำให้เกิดความสกปรก และเป็นอุปสรรคในการเข้าผจญเพลิง อาจทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าราคาแพง เสียหายได้
ใช้ดับไฟได้ดีคือ ไฟประเภท B ผงเคมีไม่เป็นสื่อไฟฟ้า สามารถดับไฟประเภท C ได้ (แต่อุปกรณ์ไฟฟ้าอาจเสียหาย) การดับไฟประเภท A ต้องมีความชำนาญและควรใช้น้ำดับถ่าน
( นิยมบรรจุในถังอลูมิเนียมสีครีมหรือถังสแตนเลส มีหัวฉีดเป็นหัวฝักบัว ) บรรจุอยู่ในถังที่มีน้ำยาโฟมผสมกับน้ำแล้วอัดแรงดันเข้าไว้ ( นิยมใช้โฟม AFFF ) เวลาใช้ ถอดสลักและบีบคันบีบ แรงดันจะดันน้ำผสมกับโฟมผ่านหัวฉีดฝักบัว พ่นออกมาเป็นฟอง กระจายไปปกคลุมบริเวณที่เกิดไฟไหม้ ทำให้อับอากาศขาดออกซิเจน และลดความร้อน
ใช้ดับไฟประเภท A และ B
( นิยมบรรจุถังสีแดง ต่างประเทศบรรจุถังสีดำ ) บรรจุก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไว้ในถังที่ทนแรงดันสูง ประมาณ 800 ถึง1200 ปอนด์ ต่อตารางนิ้ว ที่ปลายสายฉีดจะมีลักษณะเป็นกระบอกหรือกรวย เวลาฉีดจะมีเสียงดังเล็กน้อย พร้อมกับพ่นหมอกหิมะออกมาไล่ความร้อน และออกซิเจนออกไป ควรใช้ภายในอาคารที่ต้องการความสะอาด โดยฉีดเข้าใกล้ฐานของไฟให้มากที่สุด ประมาณ 1.5 – 2 เมตร เมื่อใช้งานแล้วจะไม่มีสิ่งสกปรกหลงเหลือ
ใช้ดับไฟประเภท B และ C
( นิยมบรรจุถังสีเขียว) แต่เดิมบรรจุน้ำยาเหลวระเหย ชนิด BCF Halon โบรโมคลอโร ไดฟลูออโร ซึ่งเป็นสาร CFC ไว้ในถังสีเหลือง ใช้ดับไฟได้ดีแต่มีสารพิษ และในปัจจุบันองค์การสหประชาชาติ ประกาศให้เลิกผลิตพร้อมทั้งให้ทุกประเทศ ลดการใช้จนหมดสิ้น เพราะเป็นสารที่ทำลายสิ่งแวดล้อมโลก บางประเทศเช่น ออสเตเลีย ถือว่าเป็นสิ่งผิดกฏหมาย ปัจจุบันน้ำยาเหลวระเหยที่ไม่มีสาร CFC มีหลายยี่ห้อ และหลายชื่อ
ใช้ดับไฟประเภท A B และ C
ภายในบรรจุด้วยน้ำยาเคมีนำเข้าจากต่างประเทศซึ่งมีคุณสมบัติในการดับเพลิงสูง สามารถดับเพลิงได้ ครอบคลุมทุกประเภทซึ่งในประเทศไทยได้มีการเปิดตัวเครื่องดับเพลิงชนิดนี้ระมาณ 5 ปี ซึ่งยังทำให้ไม่เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป แต่ในอนาคตเครื่องดับเพลิงจะถูกเปลี่ยนเป็นชนิดนี้หมดเเล้ว
ใช้ดับไฟประเภท A B C D และ K
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ คุณพิพัฒน์ ตั้งบุญส่ง 081-9162420 คุณขนิษฐา ประสิทธิโชคกุล 097-4146261 |
|
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |